สารทเดือนสิบ คนใต้ หลบบ้านมารับ-ส่งตา ยาย ความหมายขนมเดือนสิบ
วันสารทไทย หรือประเพณีสารทเดือนสิบ ซึ่งหลายคนอาจจะคุ้นเคยกันในชื่อ “ชิงเ ป ร ต” จัดขึ้นช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. ของทุกปี
ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของภาคใต้ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ดวงวิ ญญ าณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมา เพื่อได้กลับบ้าน มาเยี่ยมเยือนบ้านเยี่ยมเยือนลูกหลาน
โดยจะเริ่มปล่อยตัวมาในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 (วันรับตา ยาย) เพื่อมายังโลกมนุษย์ โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 (วันส่งตา ยาย )
ช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรม ของประเพณีสารทเดือนสิบ จะมีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ ถึงแรม 15 ค่ำเดือนสิบของทุกปี แต่สำหรับวันที่ชาวใต้มักจะนิยมทำบุญกันมากคือ วันแรม 13-15 ค่ำ ประเพณีวันสารทเดือนสิบโดยในส่วนใหญ่แล้ว จะตรงกับเดือนกันยายน

ความหมายของขนมเดือนสิบ
• ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทน เรือ แพ ที่บรรพบุรุษใช้ข้ามห้วงมหรรณพ เหตุเพราะขนมพองนั้น แผ่ดังแพ มีน้ำหนักเบา ย่อมลอยน้ำ และขี่ข้ามได้
• ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทน แพรพรรณ เครื่องนุ่งห่ม เหตุเพราะขนมลา มีรูปทรงดังผ้าถักทอ พับ แผ่ เป็นผืนได้
• ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทน ลูกสะบ้า สำหรับใช้เล่น ต้อนรับสงกรานต์ เหตุเพราะขนมบ้า มีรูปทรงคล้ายลูกสะบ้า การละเล่นที่นิยมในสมัยก่อน
• ขนมดีซำ เป็นสัญลักษณ์แทน เงิน เบี้ย สำหรับใช้สอย เหตุเพราะรูปทรงของขนม คล้ายเบี้ยหอย
• ขนมกง (ไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทน เครื่องประดับ เหตุเพราะรูปทรงมีลักษณะ คล้ายกำไล แหวน